อ่าน GMAT ยังไงให้ได้คะแนน 730+

น้องที่อยากไปเรียน Top-U ที่เป็นมหาลัย Top 10 ไม่ว่าจะเป็น Harvard, Stanford, MIT, Kellogg, Wharton, Columbia, Chicago Booth
กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีคะแนนเฉลี่ย GMAT อยู่ที่ 730+ ถ้าใครอยากเข้ามหาลัยในกลุ่มนี้ อย่างน้อยควรได้คะแนน 730 ค่ะ
 

#TopUTips วันนี้จะมาแชร์ 5 เทคนิค อ่านยังไงให้ได้คะแนน GMAT 730+

1. ทำสรุปวิเคราะห์ “จุดเด่น จุดด้อย” ของตัวเอง
สิ่งที่น้องมักทำพลาดกันบ่อย คือครั้งแรกเน้นตะลุยทำโจทย์อย่างเดียว แต่ไม่ได้วิเคราะห์ว่าข้อนี้เราผิดเพราะอะไร
ข้อไหนเราคิดนาน ข้อไหนเราโดนหลอก ให้ทำเป็นสรุป เช่น มีจุดที่พลาดบ่อยก็เขียนเลยค่ะว่าจุดที่พลาดบ่อย
ที่ต้องฝึก คือจุดไหน เช่น คิดเลขผิด โดยเฉพาะจุดทศนิยม ลืมวาดโจทย์  ลองลิสต์มา

นอกจากนั้นให้เราทำ Error Log เพิ่มไปด้วย หมายความว่า ให้เราเก็บข้อมูลอะไรที่เราเคยผิด อย่าผิดซ้ำ เช่นคำ EDIUM ใน verbal
เราเคยโดนหลอกมาแบบนี้หรือเป็นเรื่อง reading อย่าโดนหลอกซ้ำ ให้จดเอาไว้

2. ทำลิสต์สิ่งที่ต้องทำเพื่อจัดลำดับความสำคัญกับเวลาที่มี
ครั้งแรกพี่ไม่ได้มีลิสต์เลยว่าต้องอ่านอะไรให้จบ ปกติก็มีหนังสือ GMAT Official Guide ก็อ่านไปเรื่อยๆ ใครว่าหนังสือเล่มไหนดี ก็อ่านสลับไปมา
พี่แนะนำให้คัดเลือกมาเฉพาะสิ่งที่ต้องทำ เปรียบเทียบกับเวลาที่มี

ยกตัวอย่าง ถ้าเราทำ GMAT Official Guide ก็ต้องลิสต์ออกมาว่าทำพาร์ทไหนไปแล้วบ้าง พาร์ทไหนยังไม่ได้ทำหรืออันไหนจะตัดไปเลย
รวมถึงตัว GMAT test อันนี้สำคัญมาก บางคนไปฝึกโจทย์ธรรมดา มันไม่เหมือนการสอบจริง

แต่การที่เราไปสอบจริง ต้องสอบติดต่อกัน 4 ชั่วโมง เราควรทำ Mock test ตรงนี้ให้เหมือนจริงด้วย
ลองทำ 3-4 ชั่วโมง ดูว่าเราจะได้คะแนนเท่าไหร่

3. ทำตารางอ่านหนังสือและ track ทุกวัน
ยกตัวอย่าง วันนี้เราทำ GMAT Official Guide ของปี 2017 เรื่อง Data Sufficiency
วันต่อมาเราอาจจะทำสรุป test วันต่อมาทำ official guide ของปี 2018 ทำ Sentence Correction ทำ Problem Solving

ทำเป็นตารางของทุกวันให้ชัดเจน เวลาเราไม่มีตาราง สมมุติเพื่อนชวนไปกินชาบู เราจะได้มีลิสต์อยู่ในใจว่าวันนี้ต้องอ่านหนังสือ 1-2 ชั่วโมงนะ
หรือพาร์ทนี้เรายังไม่ได้อ่าน จะได้รู้ว่าต้องรีบกลับมาทำ ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เพื่อสร้างวินัยให้ตัวเองค่ะ

4. ทำให้ตัวเองชินกับการสอบ
เน้นที่การสอบ ไม่ใช่ข้อสอบ ข้อสอบจะเป็นแบบ adaptive test ยิ่งทำได้ข้อสอบก็จะยากขึ้นเรื่อยๆ
การลองทำข้อสอบเสมือนจริงเพื่อให้ชินกับการสอบ เป็นสิ่งที่สำคัญ
ดังนั้น เราต้องเอาตัวเองไปทำ pre-test ไปทำ mock-test ว่าเราสามารถบริหารจัดการได้มั้ย

อดทนกับเวลา 3-4 ชั่วโมงได้หรือป่าว นอกจากนั้นก็อย่าลืมทำสรุปคะแนน Quant และ Verbal 
สรุปคะแนนออกมาได้เท่าไหร่แล้วเฉลี่ยช่วงคะแนนอยู่ในช่วงไหนบ้าง ตรงนี้จะได้มีสถิติของเราด้วย

5. วันสอบใจต้องนิ่ง
ทริคสุดท้ายคือวันสอบทำใจให้สบาย อย่ากดดันตัวเอง หลายคนบอกเลยว่าไปสอบครั้งแรกมือสั่นตลอด 4 ชม. เพราะกดดันมาก
ครั้งที่สอง บางคนไปสอบยังเหงื่อออก หัวใจเต้นแรง บางคนต้องครั้งที่ 3 หรือ 4 ถึงจะเริ่มชิน เราต้องหัดฝึกใจให้นิ่งค่ะ


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

EP83: Q&A ตอบคำถามวันที่ 28 เมษายน 2562

ตอบคำถามของผู้ฟังที่ทักมา ประจำวันที่ 28 เมษายน 2562 ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU Talk The Podcast ·

Read More »

EP68: ปรากฎการณ์ชานม KOI The (โคอิเตะ)

เรื่องราวของ KOI THE (โคอิเตะ) ในประเทศไทย ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top Uเรื่gi TopU Talk The Podcast ·

Read More »

กลยุทธ์เขียน Essay สมัคร MBA ที่ Columbia Business School

เทคนิคเขียน Essay/SOP ที่ Columbia Business School น้องๆ ที่อยากสมัครเรียน MBA เรียนต่อต่างประเทศ ช่วงนี้ก็เริ่มเข้า Application Season สำหรับสมัคร MBA ในปี 2021 กันแล้วนะคะ หลายคนคงจะเริ่มวางแผน เริ่มยื่นสมัครกันแล้วและอาจมีน้องหลายคนเลยที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียน essay จากตรงไหน พี่ๆ เลยจะมาทำ Essay

Read More »
Scroll to Top