การเขียนเรื่องความล้มเหลว (Failure)


สังคมในปัจจุบัน มีการยกย่องเรื่องความล้มเหลว พี่มองว่ามาจากเทรนด์ของ Start-up ที่เริ่มเติบโต เพราะ Start-up ก็เริ่มมาจากความล้มเหลว

Angela Duckworth เป็น Professor ที่ University of Pennsylvania จบทั้ง Harvard และ Oxford University เค้าบอกเลยว่าคนที่จะประสบความสำเร็จหรือคนที่เป็นผู้นำในอนาคตได้ จะต้องมี GRIT ซึ่งมาจาก 2 เรื่อง

1.Passion
2.Perseverance (ตัว Failure เอง ก็อยู่ใน Perseverance)

Angela Duckworth บอกว่า ถ้าคุณมี GRIT มี Passion มี Perseverance หรือการเอาชนะ Failure ได้ คุณจะเก่งกว่าคนที่มีพรสวรรค์อีก และจุดนี้เองทางฝั่ง Admissions ของ Top-U ก็เห็นความสำคัญของ Failure เหมือนกัน ถ้าเกิดจะเป็นผู้นำที่ดีได้ คุณต้องสามารถผ่านความล้มเหลว เมื่อล้มแล้วคุณลุกได้ นำความรู้กลับมาเพื่อพัฒนาต่อได้

ในส่วนของ Essay เอง เรื่อง Failure บางมหาวิทยาลัยก็ถามตรงๆ บางมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ถามตรงๆ

  • กลุ่มแรกที่ถามตรงๆ เช่น Cambridge, INSEAD
  • กลุ่มที่ไม่ได้ถามตรงๆ เราก็เล่าได้ เช่น Harvard, Stanford

เทคนิค ABC Framework

  • จุด A ก่อนที่จะเจอเหตุการณ์ความล้มเหลว เราเป็นคนยังไงมาก่อน มีความเชื่ออะไร มีมุมมองแบบไหน
  • จุด B Failure Story มันเกิดอะไรขึ้น มันล้มเหลวยังไง
  • จุด C Learning/Key takeaway การคิดวิเคราะห์ สะท้อนออกมาได้ยังไง เพื่อให้ประสบความสำเร็จ หรือเป็นจุดที่เรานำตัว learning จากความล้มเหลวครั้งก่อน มาทำให้ประสบความสำเร็จในโปรเจคถัดไปก็ได้เหมือนกัน

ยกตัวอย่างของพี่เอง ถ้าถามว่า 1 ในความล้มเหลวของพี่คืออะไร หลังจากพี่จบจาก BBA ธรรมศาสตร์ใหม่ๆ พี่ก็ไปเป็น Investment Banker ที่ปรึกษาทางการเงิน แล้วบริษัทที่พี่ทำก็จะช่วยหลายบริษัทที่เป็น SMEs ที่กำลังโต เพื่อเข้าตลาด เวลาพี่อยากจะ convince ใครสักคน พี่มักจะใช้ข้อมูลที่เป็นตัวเลข เพราะพี่มองว่าถ้าเราเอา value เข้าตลาดแล้ว เราจะมี shareholder wealth มีความมั่งคั่ง มีตัวเลขที่เพิ่มขึ้นแน่นอน

ตอนนั้นพี่ก็ได้ทำโปรเจคนึงในบริษัท ที่จะต้องไป advice กลุ่มบริษัทกลุ่มหนึ่งให้เข้าตลาด เรียกว่ากลุ่มบริษัท SMEs กลุ่มนี้แล้วกัน กลุ่มนี้พี่ได้เข้าไปคุยกับผู้บริหารทั้ง 2 generations ตอนแรกนำตัวเลขเข้าไปใช้ ถ้าเกิดเข้า IPO ตลาดมูลค่าเท่านี้ บริษัทคุณจะโตได้ ขยายได้ 10 เท่าเลย คนที่เป็น second generation คือรุ่นลูก ก็สนใจเลยค่ะ มีไฟแรง อยากจะเข้า IPO เลย

พอถึง meeting ที่ 2 เป็นจุดความท้าทายมาก พอเราไปนำเสนอเรื่องเดิมให้คุณพ่อที่เป็นประธานฟัง ท่านก็บอกเลยว่ายังไงก็ไม่เอาบริษัทเข้าตลาดแน่นอน แล้วดีลก็จะล่มเลยนะคะตอนนั้น เหมือนกำลังจะไปต่อไม่ได้แล้ว

พี่ก็กลับมาทบทวนว่าสิ่งที่เรานำเสนอไป มันไม่ได้ตอบโจทย์กับสิ่งที่เค้า concern หรือเปล่า พลาดที่จะคิดมุมไหนไปมั้ย พอได้คุยกับคนอื่นในบริษัทก็เลยรู้ว่าท่านประธานที่เป็นผู้ก่อตั้ง เค้ามีความกลัว เพราะเค้าเคยเห็นบริษัทเพื่อนโดนโกง คือมาแอบซื้อหุ้นแล้วก็เอาบริษัทไปเลย ดังนั้นพี่ก็รู้ 1 ใน concern ของเค้า และอีกหนึ่ง concern ก็รู้ว่าเค้ายังไม่มีคนมาช่วย ที่เป็น professional สักเท่าไหร่ เราเลยมองจุดนั้น พอเราพลาดเลยได้เรียนรู้

  • จุดแรก เราไม่สามารถเอาข้อมูลเดิมไป convince ใหม่ได้ เราต้อง tailor ตัว presentation ให้เหมาะกับผู้ฟัง
  • จุดที่สอง เวลาเราจะ convince ใคร ต้องไปดูจริงๆว่าเค้ามีข้อสงสัย มีปัญหา มีมุมมองยังไงเกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากจะนำเสนอ

ดังนั้นพี่เลยกลับเข้าไปนำเสนอแผนงานที่จะเอาบริษัทเข้า IPO ใหม่ ได้เข้าไปคุยกับท่านประธานและอธิบายเป็น 2 มุม

  • มุมแรก เราเข้าใจว่าตอนนี้ บริษัทกำลังโตและอยากหาคนมาช่วย แต่หาคนมาช่วยยังไม่มีคนที่เป็น professional เข้ามา ถ้าเอาบริษัทเข้า IPO จะสามารถดึงคนที่มีความสามารถ ที่เป็น professional เข้ามาได้
  • มุมที่สอง การที่บริษัทเข้า IPO ไปแล้ว จะป้องกันเรื่อง hostile takeover ได้ยังไง ทำยังไงได้บ้าง เราก็ไล่ให้เป็น step

สุดท้ายจากการที่คุยกันหลายรอบ จากที่เรียนรู้กัน สิ่งที่เราเคยล้มเหลวมา ปรับออกมาเป็น key learning และสุดท้ายทางฝั่งท่านประธานก็อยากนำบริษัทเข้า IPO เพื่อดึงคนที่เป็น professional เข้ามา และไม่กลัว hostile takeover แล้ว

ถ้าน้องๆฟังเรื่องราวที่พี่เล่า ก็จะเห็นจุด ABC ที่สามารถนำมาปรับ Turn around project ให้ failure กลายเป็นเรื่องที่ประสบความสำเร็จได้ และนี่คือเทคนิคสำหรับการเขียน Failure ในวันนี้ค่ะ


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

EP63: 10 ทักษะของคน GEN Y ในปี 2030

ทักษะสำคัญสำหรับคน Gen Y ที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในปี 2020-2030 ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission To Top U TopU Talk The Podcast ·

Read More »

TopUTalk EP.39 เรียน MBA สาย Data Analytics ที่ UNC Part 2

แชร์ประสบการณ์การเรียน MBA สาย Data Analytics ที่ UNC Kenan-Flagler Business School มาฟังใน Podcast นี้กันค่ะ ครูพี่เจส ภัคศิกร ทับทิมทอง อดีต Admissions Committee ที่ Kellogg, Northwestern University และเป็นผู้บริหารบริษัท Mission

Read More »

กลยุทธ์เขียน Essay สมัคร MBA ที่ Columbia Business School

เทคนิคเขียน Essay/SOP ที่ Columbia Business School น้องๆ ที่อยากสมัครเรียน MBA เรียนต่อต่างประเทศ ช่วงนี้ก็เริ่มเข้า Application Season สำหรับสมัคร MBA ในปี 2021 กันแล้วนะคะ หลายคนคงจะเริ่มวางแผน เริ่มยื่นสมัครกันแล้วและอาจมีน้องหลายคนเลยที่ไม่รู้ว่าจะเริ่มเขียน essay จากตรงไหน พี่ๆ เลยจะมาทำ Essay

Read More »
Scroll to Top