9 Essay Mistakes (Part 1)


สรุป 9 ข้อผิดพลาดที่ไม่ควรทำใน Essay

1. ตอบไม่ตรงคำถามตั้งแต่ต้นประโยค
ตอนพี่เป็น Admissions Team ที่ Kellogg การที่จะทำให้ story ของเราผ่านไปไห้ได้ง่ายที่สุดคือตอบคำถามค่ะ การตอบคำถามตรงนี้หมายความว่าแต่ละมหาวิทยาลัยเค้าจะมีคำถามที่แตกต่างกัน

ยกตัวอย่าง ที่ Columbia เค้าถามว่า “ทาง Admissions Team ได้อ่าน Resume อ่าน Letter of Recommendation ของเราแล้ว ผู้สมัครมี career path ที่จะไปสู่ Short-term goal Long-term goal ยังไง แล้วทำไมถึงอยากสมัครที่ Columbia”

ตอนที่เราเริ่มตอบตั้งแต่ paragraph แรก ให้ตอบแบบนี้เลย My Long-term goal is…/My Long-term passion include…/My career vision is… เค้าจะได้รู้สึกว่าเราตอบคำถามเค้าค่ะ เมื่อใดก็ตามที่ทาง Admissions Team รู้สึกว่าเราตอบไม่ตรงคำถาม เค้าอาจคิดว่าเรา reuse essay มาจากมหาวิทยาลัยอื่น

บางมหาวิทยาลัยอาจถามคำถามเกี่ยวกับ Leadership Essay เค้าจะให้น้องแชร์ recent leadership example ไม่ว่าเค้าจะถามอะไร ตั้งแต่ต้นประโยค เราต้องเฟรมให้เค้าเห็นว่าเรากำลังจะเล่าเรื่องนั้นให้เค้าฟัง โดยการตอบให้ตรงคำถามตั้งแต่ต้นค่ะ

**10 คำแรกของ Essay สำคัญกว่า 1,000 คำสุดท้าย**  เพราะเป็น First impression ค่ะ

2. ขาดการอธิบายบริบทหรือ context
เราอยู่ในประเทศไทย เราจะเห็นและเข้าใจปัญหาในเมืองไทย แต่นึกภาพว่า Admissions Team เป็นคนอเมริกา คนอังกฤษ เค้าจะไม่เข้าใจบริบทปัญหาที่อยู่ในเมืองไทย ตรงนี้ต้องอธิบายให้ชัดเจนด้วยค่ะ

ยกตัวอย่าง น้อง A อยากสมัคร Columbia มีความสนใจด้าน Healthcare เค้าก็เขียนอธิบายไปว่า เค้าอยากกลับมาทำให้เมืองไทยมี Healthcare ที่คนหมู่มากสามารถเข้าถึงได้และมีคุณภาพดีด้วย น้องเขียนอธิบายบริบทถึงสิ่งที่เค้าอยากทำดีมากเลยค่ะ แต่บริบทในสิ่งที่น้องขาดคือบริบทปัญหา การอธิบายเพิ่มว่า ปัญหาเรื่องการรักษาสุขภาพ ปัญหาเรื่องโรงพยาบาลของเมืองไทยเป็นยังไง ตรงนี้ต้องอธิบายให้เค้าฟังด้วยค่ะ

พี่แนะนำให้น้องไปหา data ใน ratio ของ UN เค้าแนะนำให้มี ratio ของแพทย์ต่อจำนวนประชากรเท่าไหร่ แล้วเมืองไทย ratio ของจำนวนแพทย์ต่อประชากร เป็น ratio ที่น้อยมากๆ ทำให้เห็นว่าเมืองไทยขาดแคลนแพทย์ แบบนี้เราจะได้เอาตัวเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดีขึ้น การใช้ ratio จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจน โดยที่เราไม่ต้องอธิบายยาว แค่เทียบตัวเลขสั้นๆ 1-2 สถิติ ก็เห็นภาพแล้ว แต่ก็ไม่ใช่สถิติเสมอไป บางบริบทอาจเขียนเรื่องเกี่ยวกับ Leadership

*สิ่งที่ขาด คือ บริบทตอนแรกว่าเราเจอปัญหาอะไร แทนที่จะเขียนว่ามี action ยังไง ให้เขียนสรุปปัญหามาก่อน ต้องเขียนบริบทให้เค้าเห็นภาพ เค้าจะคิดว่าคนนี้มีเรื่องราวที่น่าสนใจ

3. เขียน Essay ไม่โชว์ story ไม่มีตัวอย่าง (Show me don’t tell me)
สมมุติเค้าถามเราใน Goal essay เรามีเป้าหมายอะไรและมีทักษะที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายนี้ยังไงบ้าง
คำตอบที่ผิดพลาด คือบอกไปเลยว่าเรามีทักษะอะไร มี Leadership skill, Teamwork skill, Analytical Thinking แบบนี้เป็นการ Tell ไม่ใช่ Show Story

สิ่งที่พี่อยากให้ฝึก คือ ให้บอกโดยการยกตัวอย่างไปเลยว่าเราทำอะไรบ้าง ให้เห็นเป็นเรื่องที่ specific ไปเลย เช่น One of my recent example in Leadership What? When? เราเคยนำทีมนี้ไปนำการคิดวิเคราะห์อะไร หรือเคยนำการทำ Financial Model ในการทำ M&A

*ให้เขียนยกตัวอย่างเป็น story ที่เข้าใจได้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่บ้าง*

4. ใช้คำว่า We ในการเขียน Essay ให้ใช้คำว่า I หรือ My Team and I
หลายคนพอเล่า story ออกมา จะใช้คำว่า We มากกว่าคำว่า I แบบนี้ไม่ใช่แบบที่ทำให้เราโดดเด่นออกมา ฝั่งยุโรป ถ้าใน essay เราเขียนคำว่า We เค้าจะรู้สึกว่าหน้าที่ตรงนั้นเราทำอะไรหรือเพื่อนเราทำอะไร

พี่แนะนำว่าไม่ต้องใช้คำว่า We เลย ไม่ได้หมายความว่าให้น้องเขียนอวยตัวเองหรือเขียนอะไรที่ไม่เป็นความจริง แต่เราเลือกเขียนประสบการณ์ที่เราทำ อาจอยู่ในโปรเจคใหญ่ๆ เราอาจจะเป็น 1 ใน 10 คนที่ทำโปรเจคนี้ แต่เราไม่ต้องวาดภาพอีก 9 คนใหญ่ๆว่าทำอะไร แต่เน้นวาดภาพให้เห็นตัว action ที่เราทำในโปรเจคนั้นๆ

ส่วนไหนที่อยากเขียนเรื่องทำงานเป็นทีมจริงๆ พี่แนะนำให้ใช้คำนี้แทน ‘My Team and I’ เช่น “My team and I convince the clients to make an investment in…” แบบนี้จะเห็นว่าเราทำงานร่วมกับทีมได้ แต่ไม่ควรใช้เยอะนะคะ จริงๆส่วนที่มีเยอะ ควรจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับตัวเรามากกว่า

สรุปข้อผิดพลาดของการทำ Essay ในพาร์ทแรกเป็น 4 เรื่อง อีก 5 เรื่อง มาต่อกันที่พาร์ท 2 จ้า


รับเคล็ดลับเรียนต่อฟรี ส่งถึงมือทุกสัปดาห์ 

น้องๆที่จะสมัคร ไปเรียนต่อ MBA หรือ Master’s Degree สายอื่น อย่าพลาด
ปรึกษาฟรี!!!! คลิกเลย FREE CONSULTATION
ฟังเรื่องราวความสำเร็จของนักเรียน MTU คลิกเลย

บทความที่เกี่ยวข้อง

How to Choose a Reliable Study Abroad Advisor วิธีเลือกที่ปรึกษาการศึกษาต่อต่างประเทศที่เชื่อถือได้

วิธีเลือกที่ปรึกษาการศึกษาต่อต่างประเทศที่เชื่อถือได้ วิธีเลือกที่ปรึกษาการศึกษาต่อต่างประเทศที่เชื่อถือได้ How to Choose a Reliable Study Abroad Advisor  ถ้าจะไปเรียนต่อต่างประเทศ สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือการเลือกที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้และมีคุณภาพนะคะ เพราะที่ปรึกษาจะคอยให้คำแนะนำ ช่วยเหลือทุกขั้นตอน ตั้งแต่การสมัครไปจนถึงเรื่องวีซ่า ที่พัก และการปรับตัวในต่างแดน แต่จะเลือกที่ปรึกษายังไงดีล่ะ? วันนี้เรามีแนวทางดีๆ มาฝากกันค่ะ ลองมาดูกันเลยว่ามีวิธีไหนน่าสนใจบ้าง รับรองว่าถ้าทำตามนี้ จะได้ที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ เชี่ยวชาญ และพร้อมดูแลเราทุกเรื่องแน่นอน

Read More »

ทำไมต้องมี โปรไฟล์ LinkedIn ให้โดดเด่น?

ทำไมต้องมี โปรไฟล์ LinkedIn ให้โดดเด่น? เวลารับนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัยทาง Admission แนะนำว่า ให้เสิร์ชชื่อผู้สมัครเข้าไปในGoogleเพราะส่วนใหญ่เวลาอ่าน resume แล้วยังไม่ค่อยชัดเจน เว็บแรกๆที่เปิดขึ้นมาคือ LinkedInอันนี้จึงเป็นความสำคัญที่พี่อยากให้น้องทำ LinkedIn ให้น่าสนใจ.7 เทคนิคทำโปรไฟล์ LinkedIn ให้โดดเด่น..#1 รูปภาพต้องเป็นภาพที่ดู Professional เช่นรูปถ่ายที่สตูดิโอหรือถ่ายจากโทรศัพท์แต่ใส่สูทและมีbackgroundที่น่าเชื่อถือ. #2 ต้องมี Headline ที่น่าสนใจ 2

Read More »

Group interview Wwharton Pprocess เป็นยังไง?

Group interview Wwharton Pprocess เป็นยังไง? Group interview Wwharton Pprocess  เป็นยังไง? คำถามเป็นแบบไหน? ต้องเตรียมตัวอะไรบ้าง? พี่ๆสรุปมาให้แล้ว มาดูไปพร้อมกันเลยค่ะ โดยปกติแล้วการสัมภาษณ์ MBA จะแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ การสัมภาษณ์กับ Admission Committee การสัมภาษณ์กับ Alumni

Read More »